วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว


การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยม และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราว

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

มหาเวสสันดรชาดก

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

            สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ ) อันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาจุ้ย พระสนมโท ต่อมาได้เลื่อนเป็น “ท้าวทรงกันดาล” เป็นตำแหน่งผู้รักษาการคลังใน เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ ) ทรงประสูติเมื่อ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ และมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชาย วาสุกรี
 
ที่มา

      เวสสันดรชาดกนี้ เป็นเรื่องใหญ่ยืดยาว ท่านจึงจัดรวมไว้ ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่๑๐เรื่อง ที่เรียกกันว่า ทศชาติ   แต่อีก ๙ เรื่อง   เหตุใดจึงไม่เรียกว่ามหาชาติ คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดี่ยวว่า มหาชาติ ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดประทานอธิบายว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า   เรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่นๆ   ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง๑๐อย่าง

ลักษณะการแต่ง

       เป็นร่ายยาว มีพระคาถาภาษาบาลีนำ และพรรณนาเนื้อความโดยมีพระคาถาสลับเป็นตอน ๆ ไปจน
จบกัณฑ์ คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว หนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่ส่วนมากมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป ถึง ๑๐ คำหรือมากกว่า มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำสุดท้ายของวรรคจะส่งสัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรคต่อไป เมื่อจบตอนมักมีคำสร้อย เช่น นั้นแล” “นี้แลร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์ จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อน แล้วแปลเป็นภาษาไทย แล้วจึงมีร่ายตาม ในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็นระยะ ๆ คำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่ตามมา

       มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดกสำนวลภาคกลางนิยมแต่งตัวร่ายยาว เพราะร่ายยาวเหมาะแก่การใช้แหล่เทศน์ ผู้เทศน์จะออกเสียงได้ไพเราะและเปลี่ยนทำนองเทศน์ได้หลายอย่าง
เนื้อเรื่องย่อ

พระเวสสันดรใจบุญมาก สร้างโรงทานไว้บริจาคคนยากจน แห่ง ต่อมาได้บริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอ ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันกราบทูลพระเจ้าสัญชัยให้เนรเทศออกจากเมือง พระเจ้าสัญชัยจำต้องยอมทำตามมติของมหาชน พระเวสสันดรเองก็ยอมรับมตินั้น แต่ก่อนจากไปนั้นได้ทูลขอบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เรียกว่า สัตตสดกมหาทาน” คือให้ของอย่างละ 700เป็นทาน มีช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว วัวนม 700 ตัว รถ 700 คัน นารี 700 นาง ทาส 700 คน ทาสี 700 คน ผ้าอาภรณ์อย่างละ 700 จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงกัณหา และเจ้าชายชาลี ไปจนถึงเขาวงกต ในป่าหิมพานต์แล้วได้บวช เป็นฤาษีแยกกันอยู่ โดยพระโอรสพระธิดาอยู่กับพระนางมัทรี
           ต่อมา พราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก มาทูลขอชาลีกุมาร กับกัณหากุมารีพระเวสสันดรก็ได้ยกให้โดยตีราคาค่าตัวสองกุมารีว่ามีราคาค่าไถ่ตัว เป็นทองคำพันลิ่ม (ก้อน) พร้อมทั้งทาสีหนึ่งร้อย ช้างหนึ่งร้อย ม้าหนึ่งร้อย โคอุสภราชหนึ่งร้อย และทองคำร้อยลิ่ม (ก้อน)พระอินทร์พอทราบเหตุนั้นก็เกรงว่าพระเวสสันดรจะยกพระนางมัทรีให้คนอื่นอีก จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาทูล
ขอพระนางมัทรีแล้วได้ถวายคืน เพื่อให้พระนางอยู่ปรนนิบัติพระสวามีพร้อมกับถวายพรแด่พระเวสสันดร
 
ข้อคิด

การฟังเทศน์มหาชาตินอกจากจะได้ประโยชน์ในปัจจุบันคือ การได้ร่วมทำบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณของชาวพุทธแล้วได้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา  ได้ความสนุกสนานเพลิดเพลินเจริญใจ

 ได้ฟังแหล่ทำนองเสนาะจากพระคุณเจ้าผู้ชำนาญการใช้เสียงให้เป็นทานแห่งพุทธธรรม ได้พบปะผู้คนเป็นแหล่งรวมความรักความสามัคคี  แล้วยังได้ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม